หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Program in Pediatric Dentistry |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2544 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 6-8 คน ต่อปี |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี |
แผนการฝึกอบรม | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) แบบที่ 2 งานวิจัยแบบไม่รับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | 70,000 ต่อภาคการศึกษา |
คุณสมบัติผู้สมัคร | 1. ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยอื่นที่ทันตแพทยสภารับรอง และ 2. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 และ 3. ปฎิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมของต่างประเทศเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตกรรมสำหรับเด็กได้เมื่อ 1. เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะฯ และสถาบันต่างประเทศและ 2. ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาทันตกรรมสำหรับเด็กโดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ทันตแพทย์ที่จบการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องมีความรู้ ความสามารถขั้นต่ำ ดังนี้ 1. ให้การดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้ป่วย บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่องาน และผู้ป่วยโดยคำนึงถึง อตฺตานํ อุปมํ กเร มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม 2. มีความรู้ด้านพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และทันตแพทย์ศาสตร์ กระบวนการวิจัย และมีความรู้ด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา พยากรณ์โรค การป้องกันโรค และรักษาโรคฟันผุ โรคเหงือก โรคและรอยโรคของเนื้อเยื่อในช่องปาก การฟื้นฟูสภาพช่องปาก การจัดการภยันตรายต่อฟัน การจัดฟันในระยะเริ่มแรก การปรับพฤติกรรมเด็กโดยวิธีทางจิตวิทยา และการใช้ยาเพื่อให้เด็กสงบ และการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ โดยใช้ความรู้แบบองค์รวม ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 3. มีความสามารถในการวิพากษ์ วิเคราะห์ ข้อมูลวิชาการทางทันตกรรมสำหรับเด็ก สามารถวิเคราะห์ปัญหา และวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็กเพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและการบำบัดรักษาผู้ป่วย สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการและกระทำการรักษาได้ถูกต้องมีหลักการและเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย 4. มีความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านทันตกรรมสำหรับเด็กในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา พยากรณ์โรค และการป้องกันโรค การรักษาโรคฟันผุ โรคเหงือก โรคและรอยโรคของเนื้อเยื่อในช่องปาก การฟื้นฟูสภาพช่องปาก การจัดการภยันตรายต่อฟัน การจัดฟันในระยะเริ่มแรก การปรับพฤติกรรมเด็กโดยวิธีทางจิตวิทยา และการใช้ยาเพื่อให้เด็กสงบ และการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ ตลอดจนการติดตามผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 5. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถให้คำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ต่อผู้ป่วย ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมวิชาชีพ บุคลากรทางทันตแพทย์ สามารถให้การรักษาร่วมหรือส่งต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถนำเสนองานทางวิชาการในที่ประชุมทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนสามารถ โดยการนำเสนอและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | คณาจารย์เป็นผู้มีประสบการณ์ตรง และได้รับอนุมัติบัตร/วุฒิบัตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจารย์ทุกท่านมีความตั้งใจ และมีเวลาให้กับผู้ฝึกอบรม มีอาจารย์พิเศษในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้แก่ผู้ฝึกอบรม รวมทั้งมีความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ นอกจากนี้ยังมีการจัดการปฏิบัติงานทางคลินิกถึง ๒ แห่ง คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา ซึ่งมีผู้ป่วยเพียงพอให้กับผู้ฝึกอบรม หลักสูตรฯ ยังได้ส่งผู้ฝึกอบรม เข้ารับการฝึกอบรมดูงานและฝึกปฏิบัติงานในระบบโรงพยาบาล ตามสถาบันที่มีผู้ป่วยหลากหลายและเฉพาะโรคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน เช่น คลินิกวิสัญญีวิทยาและงานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, งานทันตกรรมและคลินิกกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , งานทันตกรรม สถาบันราชานุกูล และการฝึกอบรมดูงานในส่วนงานทันตกรรมโรงพยาบาลชลบุรี เพื่อผู้ฝึกอบรมจะได้รับประสบการณ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้มีประสบการณ์จริง และนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่อไป |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | ศ.คลินิก ดร.ทพญ.ศิริรักษ์ นครชัย รศ.ทพญ. ภัทรวดี ลีลาทวีวุฒิ รศ.ทพญ. ยุวดี อัศวนันท์ รศ.ดร.ทพญ.วรางคณา จิรรัตนโสภา ผศ.ทพญ.วรณัน ประพันธ์ศิลป์ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | รศ.ทพญ.ยุวดี อัศวนันท์ |
เบอร์โทรติดต่อ | 02-2007821 |
อีเมล์ | yasvanund@hotmail.com |