Training program
Name of program – Field of study (Thai) | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล |
---|---|
Name of program – Field of study (English) | Residency Training Program in Oral and Maxillofacial Surgery |
Training institution | คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Program commencement | 2541 |
Number of accepted trainees | 4 คน ต่อปี |
Training duration | 4 ปี |
Training Plan | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
Training fee | เป็นไปตามระเบียบของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย |
eligibility requirements | 1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยอื่นที่ทันตแพทยสภารับรอง 2. ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 3. เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ 4. ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ เมื่อผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยและทันตแพทยสภา 5. กรณีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม ประสงค์จะขอใช้คุณวุฒิและประสบการณ์จากการศึกษาที่ได้สำเร็จมาแล้ว เช่น ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ในสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและแพทยศาสตรบัณฑิตมาเทียบโอนรายวิชา สถาบันจะพิจารณาเทียบโอนวิชาพื้นฐาน วิชาเฉพาะ และการวิจัย ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย 6. ผู้สมัครต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 7. อื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย *หมายเหตุ หลักสูตรนี้เรียนควบคู่กับหลักสูตร ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ หลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) แขนงวิชา ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Scope/training program objectives | เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขานี้ในประเทศให้ทัดเทียมต่างประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลให้กระจายไปอยู่ตามส่วนต่างๆของประเทศตามนโยบายการสาธารณสุข หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็ก ซิลโลเฟเชียล มีวัตถุประสงค์ คือ 1. สามารถตรวจ วินิฉัย รักษาและพยากรณ์โรคหรือความผิดปกติในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวเนื่อง และป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง 2. มีความรู้พื้นฐานในวิชาที่เกี่ยวข้องเช่นศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ วิสัญญีวิทยา และวิทยาศาตร์การแพทย์อื่นที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี 3. วิเคราะห์ แนะนำ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในทางศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลที่มีในชุมชนได้ ทั้งด้านการป้องกัน รักษา ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพ 4. สามารถทำศัลยกรรมช่องปากและอวัยวะที่เกียวเนื่องได้ตามเกณฑ์ สามารถตัดสินใจถูกต้องในหลักเกณฑ์การรักษา 5. สามารถให้การศึกษาอบรม ให้คำแนะนำแก่ทันตแพทย์ทั่วไป และนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ หรือบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องในงานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลได้อย่างเหมาะสม 6. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 7. มีความใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต 8. มีความรู้พื้นฐานในขบวนการวิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ในสาขา |
Program’s distinctive features/Additional explanations | - มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต่อปีจำนวนมาก มีประเภทผู้ป่วยที่หลากหลายที่จะให้การรักษาอย่างเป็นองค์รวม - มีแหล่งค้นคว้าข้อมูลและวิชาการที่สมบูรณ์และทันสมัย - เครื่องมือทันสมัยพร้อมให้การรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี - มีวิทยากรรับเชิญทั้งในและต่างประเทศมาบรรยายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน - มีการให้การรักษาร่วม การปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างภาควิชา เพื่อการรักษาอย่างเป็นองค์รวม - มีการหมุนเวียนฝึกปฏิบัติในหน่วยศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลและหน่วยเฉพาะทางอื่น เช่น ศัลยกรรมประสาท โสตศอนาสิก อายุรศาสตร์ ได้ฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เป็นการ เตรียมความพร้อมอย่างดี - ได้เรียนรู้วิชาการ และระบบวิจัยที่จะสร้างเสริมให้เกิดนิสัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
Training faculty members (partial list) | ศ. ทพ. พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ศ. ทพ. ดร.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ รศ.ทญ.ดร.เกศกัญญา สัพพะเลข ผศ.ทพ.ขนิษฐ์ ธเนศวร ผศ.ทญ.ดร.ภัคสินี กมลรัตนกุล ผศ.ทญ.ดร.บุศนา คะบุศย์ ผศ.ทพ.นพ.วรภัทร ตราชู ผศ.พญ.ธันชุดา สำเภาเงิน |
Program director | ศ. ทพ. ดร.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ |
Contact number | 02-218-8581-2 |
atiphan.p@chula.ac.th |