หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Program in Oral and Maxillofacial Surgery |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2539 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 4-6 คน ต่อปี |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 4 ปี |
แผนการฝึกอบรม | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | ไม่มี |
คุณสมบัติผู้สมัคร | 1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นที่ทันตแพทยสภารับรอง 2. ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทางทันตกรรม พ.ศ.2537 3. เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหาย และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ 4. ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อดังกล่าว และผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ สามารถให้คณะกรรมการประจำหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาให้สมัครเข้าฝึกอบรมได้เป็นกรณีพิเศษ โดยต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และเห็นชอบจากราชวิทยาลัยและทันตแพทยสภา 5. กรณีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม ประสงค์ขอใช้คุณวุฒิและประสบการณ์จากการศึกษาที่ได้สำเร็จมาแล้ว เช่น ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และแพทยศาสตร์บัณฑิตมาเทียบโอนรายวิชา สถาบันจะพิจารณาเทียบโอนวิชาพื้นฐาน วิชาเฉพาะ และการวิจัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | - เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และสามารถนำมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษาผู้ป่วยรวมทั้งเข้าใจกลไกของการดำเนินโรคและการหายของแผล - เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยสามารถให้การตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา พยากรณ์โรคตลอดจนให้การรักษาและติดตามผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม - มีความรู้พื้นฐานในด้านศัลยศาสตร์ทั่วไป, ศัลยกรรมประสาท, อายุรศาสตร์, วิสัญญีวิทยาและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง - เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ปัญหาสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย โดยสามารถให้คำปรึกษาในทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลแก่แพทย์ ทันตแพทย์ รวมทั้งสามารถให้การรักษาร่วมหรือส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการและกระทำการรักษาได้ถูกต้องมีหลักการและเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย - เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านพื้นฐานการวิจัย การเก็บข้อมูล และการเขียนรายงานหรือบทความทางวิชาการ - เพิ่มทักษะในการให้การฝึกอบรมทางวิชาการแก่บุคลากรทางทันตแพทย์ โดยสามารถเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และถ่ายทอดความรู้ด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลได้ - เพื่อพัฒนาให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และผู้ร่วมงานระดับต่าง ๆ - เพื่อพัฒนาให้มีนิสัยใฝ่รู้ ช่างสังเกต ชอบค้นคว้า มีวิสัยทัศน์ในการวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | - อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ มีความรู้ ประสบการณ์การสอน การวิจัย และการดูแลผู้ป่วยในทุก Spectrum ของสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล อย่างสูง โดยเฉพาะงาน orthognathic surgery, distraction osteogenesis, OSA, primary and secondary surgical correction of cleft lip and cleft palate, rhinoplasty in cleft lip-nose patient, craniofacial syndrome as hemifaccial microsomia, Treacher-Collins syndrome etc., oral&maxillofacial tumor and malignancy, oral&maxillofacial reconstruction including microvascular free flap, dental and craniofacial implants คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีห้องสมุด,วารสารทางการแพทย์, ทันตแพทย์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องและเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย มีจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอ พร้อมต่อการฝึกอบรมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะและความรู้อย่างเต็มที่ มีศูนย์ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะด้าน เช่น ศูนย์วิการใบหน้าขากรรไกร (Cranio maxillofacial deformity center) ศูนย์รากเทียม (Implant center) ศูนย์แก้ไขความเจ็บปวดใบหน้าขากรรไกร (Orofacial pain center) ศูนย์แก้ไขภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA treatment center) ฯลฯ เน้นการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม (wholistic approach),และ interdisciplinary & multidisciplinary approach - สถาบันสมทบและอาจารย์พิเศษมีความพร้อมทั้งสถานที่ และจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอต่อการฝึกอบรม และอาจารย์พิเศษที่มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์สูงและให้การดูแลทันตแพทย์ประจำบ้านอย่างใกล้ชิด |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | ผศ.นพ.ทพ.ดร. ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ ศ.ทพญ. อรสา ไวคกุล ผศ.นพ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ ผศ.นพ.ทพ.ดร. บวร คลองน้อย อ.ทพ. ปริย แก้วประดับ ผศ.ทพ. สุรกิจ วิสุทธิวัฒนากร ผศ.ทพ. ยุทธศักดิ์ เกรียงเชิดศักดิ์ ผศ.ทพญ.ปัทมวรรณ มโนสุทธิ รศ.พญ. ดวงดี รัมมะศักดิ์ ผศ.นพ.ทพ.ดร. ณัฐพงศ์ สิรินทวัฒน์ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | ผศ.นพ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ |
เบอร์โทรติดต่อ | 02-200-7845-6 |
อีเมล์ | sumalee.yan@mahidol.ac.th |