หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตสาธารณสุข |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Program in Dental Public Health |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2553 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 5 คน ต่อปี |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3-5 ปี |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | ปีแรกและปีที่สอง อัตราภาคการศึกษาละ 37,000 บาท ปีที่สาม 15,000 บาท/ปีการศึกษา |
คุณสมบัติผู้สมัคร | คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม เป็นผู้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทันตกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ. 2555 ข้อ 40 โดยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตสาธารณสุขได้เมื่อ (1) มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ (2) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขานั้น โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย (3) การรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ ความสามารถ (competencies) ระดับสูงในงานทันตสาธารณสุข และ มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อประชาชน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผู้ที่สอบผ่านการฝึกอบรมต้องมีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ศาสตร์ที่สำคัญด้านทันตสาธารณสุข ประกอบด้วย 1 ความเป็นวิชาชีพ 2 ความเป็นวิชาการและนวัตกร 3 กระตุ้นและเสริมสร้างพลัง 4 การเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ 5 ผู้ร่วมและผู้ประสานงานเพื่อความเป็นธรรม (equity) และสุขภาพหนึ่งเดียว |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีในการแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขของประเทศ เน้นความเป็นผู้นำด้านทันตสาธารณสุขที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการบริหารจัดการ และความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนางานทันตสาธารณสุขด้วยกระบวนการคิดที่เป็นระบบและเรียนรู้ผ่านการวิจัย การเรียนการสอนควบกับปริญญาโท ที่ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้วุฒิการศึกษามากว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน มีทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ทุนผู้ช่วยสอน สำหรับผู้สมัครฝึกอบรม การเรียนการสอนแบบแยกส่วน (module) เข้าฝึกอบรมโดยเฉลี่ย 3-5 วันต่อเดือน ผสานกันทั้งแบบ on line และ on site มอบหมายงานกลับไปทำงานโดยจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ที่ปรึกษา มีภาคปฏิบัติการทันตสาธารณสุขที่มีความหลากหลายและได้ประสบการณ์ตรงจากสถาบันสมทบ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 10 แห่งทั่วประเทศ คณาจารย์มีความเชียวชาญหลากหลายสาขาวิชาและมีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรกับผู้เชี่ยวชาญในคณะฯ มหาวิทยาลัย และสถาบันสมทบที่มีผลงานเด่นด้านทันตสาธารณสุข ได้แก่ การบริหารงานทันตสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ วิทยาการระบาด วิจัย การจัดการข้อมูล สถิติ วิทยาศาสตร์พื้นทางที่สำคัญ และ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | รศ.ดร.ทพ. ทรงชัย ฐิตโสมกุล รศ.ดร.ทพญ. สุกัญญา เธียรวิวัฒน์ รศ.ดร.ทพญ. ณัฐพร ยูรวงศ์ รศ.ดร.ทพญ. อังคณา เธียรมนตรี ผศ.ดร. ทพญ. จรัญญา หุ่นศรีสกุล ผศ.ทพญ. เสมอจิต พิธพรชัยกุล ผศ.ทพ. วรรธนะ พิธพรชัยกุล อ ทพญ. อัจฉรา วัฒนาภา ผศ.ดร. ทพญ. จันทร์พิมพ์ หินเทาว์ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | รศ.ดร.ทพ. ทรงชัย ฐิตโสมกุล |
เบอร์โทรติดต่อ | 0-7442-9875 |
อีเมล์ | songchai.t@psu.ac.th |