Training program
Name of program – Field of study (Thai) | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ |
---|---|
Name of program – Field of study (English) | Residency Training Programme in Endodontics |
Training institution | คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Program commencement | 2548 |
Number of accepted trainees | 4 - 7 คน |
Training duration | 3 ปีการศึกษา |
Training Plan | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) แบบที่ 2 งานวิจัยแบบไม่รับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
Training fee | 90,000 บาท ต่อภาคการศึกษา (ต้น/ปลาย) 45,000 บาท (ฤดูร้อน) (หากควบ ป.สูงจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม) |
eligibility requirements | 1.เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 และต้องทำงานด้านทันตกรรมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 2. หากต้องการเรียนควบหลักสูตร ป.สูง ผู้สมัครต้องสมัครสอบทั้งหลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางระดับวุฒิบัตร สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ของทันตแพทยสภา 3. ต้องส่งหลักฐานการสมัครตามที่ระบุใน ร.ว.ท.ท.3 (ใบสมัครของทันตแพทยสภา) ให้ครบถ้วน และส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ 3.1 หนังสือรับรองการทำงาน 3.2 ผลคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 470 หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.5 คะแนนขึ้นไป ผลคะแนนอายุไม่เกิน 2 ปี หรือตามที่สถาบันสอบนั้นๆรับรอง 3.3 หนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากต้นสังกัด เอกสารในข้อ 3 ทั้งหมด ผู้สมัครสอบสามารถ upload มาพร้อมกับตอนสมัครในระบบของราชวิทย์ฯ หรือจะส่งภายหลังได้อย่างช้าสุดภายในวันสอบข้อเขียน |
Scope/training program objectives | เพื่อให้มีความรู้ในวิทยาศาสตร์พื้นฐานและทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับวิทยาเอ็นโดดอนต์ สามารถให้การรักษาในงานวิทยาเอ็นโดดอนต์ที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก ทั้งการรักษาคลองรากฟัน และการทำศัลยกรรมปลายราก ทำการรักษาผู้ป่วยร่วมกับสาขาอื่นๆได้ ิอีกทั้งมีความสามารถในการทำวิจัย และถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้ ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม |
Program’s distinctive features/Additional explanations | 1) สถาบันมีวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยสำหรับการรักษาคลองรากฟัน และระบบภาพรังสีแบบดิจิตอลทั้ง intraoral และ CBCT เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง 2) การเรียนการสอนมีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่เชี่ยวชาญสาขาวิทยาเอ็นโดอนต์ เน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยหลักการทางวิชาการและเหตุผล ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ discussion และวิชาสัมมนาเป็นการเรียนร่วมกันของทุกชั้นปี ทำให้รุ่นพี่และรุ่นน้องสามารถส่งต่อความรู้และประสบการณ์ให้กันและกันได้ โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมและให้คำแนะนำ 3)หลักสูตรนี้มีสถาบันสมทบ คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เพื่อให้นิสิตได้มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคทางระบบ ที่อาจไม่ค่อยพบในคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยมีทันตแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ช่วยดูแลและให้คำแนะนำ 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกเรียนควบหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ของจุฬาฯ และได้รับประกาศนียบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งได้เวลาศึกษาเท่าเดิม ในกรณีต้องการเรียนควบ 2 หลักสูตร จะมีค่าเล่าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ 48,000 บาท/ภาคการศึกษา และค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มเติม |
Training faculty members (partial list) | รศ.ทพญ.ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล รศ.ทพ.ดร.ไพโรจน์ หลินศุวนนท์ รศ.ทพญ.ดร.ปวีณา จิวัจฉรานุกูล ผศ.ทพญ.ดร.สมสินี พิมพ์ขาวขำ ผศ.ทพญ.ดร.อุไรวรรณ โชคชนะชัยสกุล ผศ.ทพ.ศิรวุฒิ หิรัญอัศว์ ผศ.ทพญ.สิริณญา กุลวิทิต อ.ทพญ.ชนากานต์ สินเสรีกุล |
Program director | รศ.ทพญ.ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล |
Contact number | 02-218-8795, 089-131-9122 |
thanomsuk@hotmail.com |