หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมหัตถการ |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Programme in Operative Dentistry |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2559 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 4 คน/ปี |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี ปีละ 2 ภาคการศึกษา |
แผนการฝึกอบรม | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) แบบที่ 2 งานวิจัยแบบไม่รับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | 75,000 บาท/ภาคการศึกษา |
คุณสมบัติผู้สมัคร | 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 2. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่ได้ใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา และมีหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากหัวหน้าหน่วยงาน 3. ในกรณีมีต้นสังกัดหน่วยงานรัฐ จะต้องมีหนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากต้นสังกัด 4. มีความรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้สมัครต้องยื่นผลสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี (นับถึงวันที่สมัคร) ได้แก่ - MU-GRAD Plus ที่ระดับคะแนน 70 ขึ้นไป (การเขียน = 10 ขึ้นไปและการพูด = 10 ขึ้นไป) - TOEFL iBT ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 64 ขึ้นไป (การเขียน = 17 ขึ้นไปและการพูด = 15 ขึ้นไป) - TOEFL ITP ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 480 ขึ้นไป - IELTS ที่ระดับคะแนน 5.0 ขึ้นไป (การเขียน = 5.0 ขึ้นไปและการพูด = 5.0 ขึ้นไป) ***** โดยจะต้องยื่นเอกสารอย่างช้าในวันที่ สอบข้อเขียน ***** |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | เพื่อผลิตทันตแพทย์ สาขาทันตกรรมหัตถการ ให้มีความรู้ความชำนาญ ดังนี้ 1. มีความรู้ ความชำนาญอย่างสูง ทางวิชาการทันตกรรมหัตถการในภาคทฤษฏีและปฏิบัติทั้งแนวลึกและแนวกว้าง 2. มีความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์คลินิกที่เกี่ยวข้องกับวิชาทันตกรรมหัตถการเป็นอย่างดี เข้าใจการเกิดและการดำเนินของโรคสามารถนำมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา บูรณะซ่อมแซมและติดตามผลการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาทันตกรรมหัตถการที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยให้การตรวจพิเคราะห์วินิจฉัย วางแผน พยากรณ์และบำบัดรักษาบูรณะได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 4. มีความรู้ความเข้าใจปัญหาสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย สามารถให้การรักษาร่วมหรือส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 5. สามารถให้คำปรึกษาทางด้านทันตกรรมหัตถการแก่ทันตแพทย์ผู้ร่วมงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย 6. พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการเพื่อความรู้ที่ทันสมัยตลอดเวลา 7. มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการทำงานวิจัย สามารถทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยได้ 8. มีความสามารถในการวิจารณ์ และประเมินผลงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ 9. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคมตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | 1. หลักสูตรฯ มีการสอนโดยอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ทั้งด้านการรักษาผู้ป่วย และด้านการวิจัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. มีคลินิกปฏิบัติงานที่ประกอบด้วย วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย 3. มีเงินสนับสนุนการทำวิจัย และการประชุมวิชาการให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | รองศาสตราจารย์ ดร.ทพ.ชลธชา ห้านิรัติศัย รองศาสตราจารย์ ดร. ทพ.พิศลย์ เสนาวงษ์ รองศาสตราจารย์ ทพญ.วัชราภรณ์ คูผาสุข รองศาสตราจารย์ ดร. ทพ.พงศ์ พงศ์พฤกษา รองศาสตราจารย์ ดร. ทพ.พิภพ สายแก้ว อาจารย์ ทพ. นัฑวิชญ์ นิยมสุจริต อาจารย์ ทพญ. มุนินทร์ ชัยชโลธร |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | อ.ทพญ.มุนินทร์ ชัยชโลธร |
เบอร์โทรติดต่อ | 02-200-7825 ต่อ 0 |
อีเมล์ | munin.dtmu@gmail.com |