หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Program in Posthodontics |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2559 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 4-6 คน |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | ค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคการศึกษาละ 100,000 บาท และค่าบำรุงราชวิทยาลัย ปีละ 7,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง แขนงทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคละ 25,000 บาทหรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัยเชียงใหม่ |
คุณสมบัติผู้สมัคร | เงื่อนไขในการรับสมัคร 1 ผู้ฝึกอบรมต้องสมัครทั้งหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควบคู่กัน 2ผู้ฝึกอบรมต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิ บัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคการศึกษาละ 100,000 บาท และค่าบำรุงราชวิทยาลัย ปีละ 7,000 บาท หรือตามที่ราชวิทยาลัยกำหนด (ทุกปีการศึกษา) รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ แบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท หรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา ภาคการศึกษาละ 10,000 บาท หรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาของหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิ บัตร ตามที่ราชวิทยาลัยกำหนด 3 ผู้ฝึกอบรมต้องได้รับอนุมัติให้มาศึกษาต่อระดับวุฒิบัตร (3 ปี) จากผู้บังคับบัญชาสูงสุด เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น 4 ผู้ฝึกอบรมต้องเตรียมกล้องถ่ายภาพในช่องปาก ชนิด DSLR พร้อมเลนซ์ Macro และ Ring flash หรือกล้อง Mirror less ที่ถ่ายภาพในช่องปากได้เทียบเท่ากล้อง DSLR 5 ผู้ฝึกอบรมต้องเตรียม Semi adjustable articulator พร้อม Face bow 1 ชุด และต้องเตรียมเครื่องมือทำงานแล็บพื้นฐานเป็นของส่วนตัว 1 ชุด 6 ผู้ฝึกอบรมต้องผ่านการประเมินทักษะภาษาอังกฤษ (CMU-eTEGS = 60 , CU-TEP = 60 , TU-GET = 500 , KU-EPT = 55 , IELTS =5.0, TOEFL : PBT= 450; CBT = 133; IBT = 45, TOEIC = 650) กรณีที่ยังไม่มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษในวันยื่นใบสมัคร ให้ผู้ฝึกอบรมยื่นคะแนนภายในภาคการศึกษาที่ 1 คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม 1 ให้เป็นไปตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์ และประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับสมัครเข้าฝึกอบรมในแต่ละปีการศึกษา 2 สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต 3 ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมกับทันตแพทยสภาแล้ว 4 มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ อย่างน้อย 1 ปี นับถึงวันเปิดเรียน 5 เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้ 6 คุณสมบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามข้อ 3-5 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการประจำหลักสูตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ของราชวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ประจำแขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ หลักฐานการสมัครเฉพาะสาขาวิชา 1 หนังสือยินยอมจากผู้บังคับบัญชาสูงสุด (เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ให้สมัครสอบและลาฝึกอบรมได้ 2 หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน 3 หนังสือรับรองผลการศึกษา (Transcript) 4 รูปถ่าย, สำเนาบัตรข้าราชการ 5 เอกสารผลการสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามี) |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ทันตแพทย์ที่สำเร็จการฝึกอบรมเป็นทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1 เป็นผู้มีความสามารถในด้านทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นอย่างดี 2 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ 3 เป็นผู้มีกระบวนการคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง 4 เป็นผู้มีความสนใจใฝ่รู้ และขวนขวายหาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมเป็นนิจ 5 เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ มีความรู้ ความชำนาญ ดังนี้ 1 สามารถหาสมุฏฐานของโรค วินิจฉัย วิเคราะห์ วางแผนการรักษา การเลือกใช้ทันตวัสดุ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ได้อย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ ได้แก่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ฟันเทียมบางส่วนติดแน่น ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร ทันตกรรมรากเทียม เป็นต้น 2 สามารถบันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง และสม่ำเสมอ 3 ให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นได้ 4 มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ โดยการนำเสนอ และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 5 สามารถเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำทางทันตกรรมประดิษฐ์แก่ทันตแพทย์ นักศึกษาทันตแพทย์ และบุคลากรอื่น ๆ ได้ 6 รู้ขอบเขต และขีดความสามารถของตนเอง และส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม 7 มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยทางทันตกรรมประดิษฐ์และเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ได้ |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | เป็นหลักสูตรที่ผู้ฝึกอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติงานในผู้ป่วยทันตกรรมประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนและหลาก หลาย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ยาวิราช 2 รองศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว 3 รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เดือน รังสิยากูล 4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาริสา สุขพัทธี 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลภพ สุทธิอาจ 6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย เชาวน์ไกลวงศ์ 7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์ 8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์ 9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์ 10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทริกา อังกสิทธิ์ 11 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชรพงศ์ อรุณแสง 12 อาจารย์ ณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญ 13 อาจารย์ วิศนี เจียมหาทรัพย์ 14 อาจารย์ ดร. อภิชัย ยาวิราช |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | ผศ.ทพญ.ดร.มาริสา สุขพัทธี |
เบอร์โทรติดต่อ | 053-944438 (เวลาราชการ) |
อีเมล์ | marisa.suka@cmu.ac.th |