Training program

Name of program – Field of study (Thai) หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
Name of program – Field of study (English) Residency Training Program in Posthodontics
Training institution คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Program commencement 2559
Number of accepted trainees 4-6 คน
Training duration 3 ปี
Training fee ค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคการศึกษาละ 100,000 บาท และค่าบำรุงราชวิทยาลัย ปีละ 7,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง แขนงทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคละ 25,000 บาทหรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัยเชียงใหม่
eligibility requirements เงื่อนไขในการรับสมัคร
1 ผู้ฝึกอบรมต้องสมัครทั้งหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควบคู่กัน
2ผู้ฝึกอบรมต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิ บัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ภาคการศึกษาละ 100,000 บาท และค่าบำรุงราชวิทยาลัย ปีละ 7,000 บาท หรือตามที่ราชวิทยาลัยกำหนด (ทุกปีการศึกษา) รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ แบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท หรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา ภาคการศึกษาละ 10,000 บาท หรือตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาของหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิ บัตร ตามที่ราชวิทยาลัยกำหนด
3 ผู้ฝึกอบรมต้องได้รับอนุมัติให้มาศึกษาต่อระดับวุฒิบัตร (3 ปี) จากผู้บังคับบัญชาสูงสุด เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น
4 ผู้ฝึกอบรมต้องเตรียมกล้องถ่ายภาพในช่องปาก ชนิด DSLR พร้อมเลนซ์ Macro และ Ring flash หรือกล้อง Mirror less ที่ถ่ายภาพในช่องปากได้เทียบเท่ากล้อง DSLR
5 ผู้ฝึกอบรมต้องเตรียม Semi adjustable articulator พร้อม Face bow 1 ชุด และต้องเตรียมเครื่องมือทำงานแล็บพื้นฐานเป็นของส่วนตัว 1 ชุด
6 ผู้ฝึกอบรมต้องผ่านการประเมินทักษะภาษาอังกฤษ (CMU-eTEGS = 60 , CU-TEP = 60 , TU-GET = 500 , KU-EPT = 55 , IELTS =5.0, TOEFL : PBT= 450; CBT = 133; IBT = 45, TOEIC = 650) กรณีที่ยังไม่มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษในวันยื่นใบสมัคร ให้ผู้ฝึกอบรมยื่นคะแนนภายในภาคการศึกษาที่ 1


คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
1 ให้เป็นไปตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์ และประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับสมัครเข้าฝึกอบรมในแต่ละปีการศึกษา
2 สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
3 ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมกับทันตแพทยสภาแล้ว
4 มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ อย่างน้อย 1 ปี นับถึงวันเปิดเรียน
5 เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้
6 คุณสมบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามข้อ 3-5 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการประจำหลักสูตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ของราชวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ประจำแขนงวิชาทันตกรรมประดิษฐ์

หลักฐานการสมัครเฉพาะสาขาวิชา
1 หนังสือยินยอมจากผู้บังคับบัญชาสูงสุด (เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ให้สมัครสอบและลาฝึกอบรมได้
2 หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน
3 หนังสือรับรองผลการศึกษา (Transcript)
4 รูปถ่าย, สำเนาบัตรข้าราชการ
5 เอกสารผลการสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
Scope/training program objectives ทันตแพทย์ที่สำเร็จการฝึกอบรมเป็นทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1 เป็นผู้มีความสามารถในด้านทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นอย่างดี
2 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ
3 เป็นผู้มีกระบวนการคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
4 เป็นผู้มีความสนใจใฝ่รู้ และขวนขวายหาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมเป็นนิจ
5 เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ มีความรู้ ความชำนาญ ดังนี้
1 สามารถหาสมุฏฐานของโรค วินิจฉัย วิเคราะห์ วางแผนการรักษา การเลือกใช้ทันตวัสดุ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ได้อย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ ได้แก่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ฟันเทียมบางส่วนติดแน่น ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร ทันตกรรมรากเทียม เป็นต้น
2 สามารถบันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง และสม่ำเสมอ
3 ให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นได้
4 มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ โดยการนำเสนอ และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
5 สามารถเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำทางทันตกรรมประดิษฐ์แก่ทันตแพทย์ นักศึกษาทันตแพทย์ และบุคลากรอื่น ๆ ได้
6 รู้ขอบเขต และขีดความสามารถของตนเอง และส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม
7 มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยทางทันตกรรมประดิษฐ์และเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
ได้
Program’s distinctive features/Additional explanations เป็นหลักสูตรที่ผู้ฝึกอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติงานในผู้ป่วยทันตกรรมประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนและหลาก หลาย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
Training faculty members (partial list) 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ยาวิราช
2 รองศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว
3 รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เดือน รังสิยากูล
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาริสา สุขพัทธี
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลภพ สุทธิอาจ
6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย เชาวน์ไกลวงศ์
7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์
8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์
9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์
10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทริกา อังกสิทธิ์
11 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชรพงศ์ อรุณแสง
12 อาจารย์ ณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญ
13 อาจารย์ วิศนี เจียมหาทรัพย์
14 อาจารย์ ดร. อภิชัย ยาวิราช
Program director ผศ.ทพญ.ดร.มาริสา สุขพัทธี
Contact number 053-944438 (เวลาราชการ)
Email marisa.suka@cmu.ac.th