หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Programme in Occlusion and Orofacial Pain |
สถาบันฝึกอบรม | ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2561 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 3 คน |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 390,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี) |
คุณสมบัติผู้สมัคร | คุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิ์ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวุฒิบัตรสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า มีดังนี้ 1. สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งรับรองโดยทันตแพทยสภา และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภา 2. สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ซึ่งรับรองโดยทันตแพทยสภา และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภา |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า มีความรู้ความสามารถ ดังนี้ 1. มีความรู้ความชำนาญในด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเป็นอย่างดีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง 2. ตรวจพิเคราะห์ ประเมิน วินิจฉัยโรคความผิดปกติในระบบบดเคี้ยว วางแผนการรักษา ตลอดจนให้การรักษาทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 3. ให้คำปรึกษาแก่แพทย์/ทันตแพทย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และเผยแพร่ความรู้ทางทันตกรรม บดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม 4. ให้ความร่วมมือในการรักษาผู้ป่วยเป็นทีม หรือรักษาร่วมกับแพทย์/ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 5. เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 6. เป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น 7. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย สามารถดำเนินงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า และนำเสนอผลงานวิจัย รวมถึงสามารถวิพากษ์และประเมินผลงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าได้ |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | 1. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ณัฏยา อัศววรฤทธิ์ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ไมตรีรัตนะกุล 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนี พงศ์โรจน์เผ่า 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัช อิทธิกุล 5. อาจารย์ ดร.นามรัฐ ฉัตรไชยยันต์ 6. อาจารย์ ดร.ชูเกียรติ วชิรลาภไพฑูรย์ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | ผศ.ทพญ. สุนี พงศ์โรจน์เผ่า |
เบอร์โทรติดต่อ | 02-200-7857 ต่อ 17 |
อีเมล์ | sunee.pon@mahidol.ac.th |