หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Programme in Occlusion and Orofacial Pain |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2561 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 2 |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี |
แผนการฝึกอบรม | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) แบบที่ 2 งานวิจัยแบบไม่รับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | 130,000 บาท ต่อ คน ต่อ ปี (2 ภาคการศึกษา) |
คุณสมบัติผู้สมัคร | 1. ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยอื่นที่ ทันตแพทยสภารับรอง และ 2. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 หรือมีคุณสมบัติ ตามข้อ 40 แห่งข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตร หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ พ.ศ. 2555 3. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า มีความรู้ความสามารถ ดังนี้ 1. มีความรู้ความชำนาญในด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเป็นอย่างดีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง 2. ตรวจพิเคราะห์ ประเมิน วินิจฉัยโรคความผิดปกติในระบบบดเคี้ยว วางแผนการรักษา ตลอดจนให้การรักษาทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 3. ให้คำปรึกษาแก่แพทย์/ทันตแพทย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และเผยแพร่ความรู้ด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม 4. ให้ความร่วมมือในการรักษาผู้ป่วยเป็นทีม หรือรักษาร่วมกับแพทย์/ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี 5. เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 6. เป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น 7. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย สามารถดำเนินงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า และนำเสนอผลงานวิจัย รวมถึงสามารถวิพากษ์และประเมินผลงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าได้ |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | 1. เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาหรือจัดการผู้ป่วยที่มีปัญหาเริื้อรัง ทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า ผู้ป่วยที่มีปัญหาหยุดหายใจในขณะหลับ ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความปวดเรื้อรัง หรือปัญหาทางระบบประสาทที่บริเวณช่องปากใบหน้า 2. เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับ บุคลากรทางการแพทย์ ในรูปแบบของสหสาขาวิชาชีพ ภายใต้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและยาวนานของคณะแพทยศาสตร์ คณะเทคนิกการแพทย์ กายภาพบำบัด คณะเภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.เป็นหลักสูตรที่สร้างความร่วมมือ กับ คณะทันตแพทยศาสตร์ในต่่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการผู้ป่วยปวดเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีปัญหาหยุดหายใจในขณะหลับ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | รศ.ดร.ทพ. ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส รศ ดร.ทพ.จรินทร์ ปภังกรกิจ ผศ.ดร.ทพญ.สุพรรณิการ์ เรืองศรี รศ.ดร.ทพญ.อาริยา รัตนทองคำ รศ.ทพญ. เพ็ญศรี โพธิภักดี ผศ.ดร.ทพญ. ปรมาภรณ์ กลั่นฤทธิ์ ผศ.ดร.ทพ. อชิรวุธ สุพรรณเภสัช รศ.ทพญ.วิไลรัตน์ สฤษฎีชัยกุล รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ ผศ.ดร.นพ.ทพ.สุทิน จินาพรธรรม ผศ.ดร.ทพญ.รัชฎา น้อยสมบัติ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผศ.นพ.อำนาจ กิจควรดี ศ.ดร.นพ.กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ ผศ.ดร.ยอดชาย บุญประกอบ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | รศ.ดร.ทพ. ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส |
เบอร์โทรติดต่อ | 043-202405 ต่อ 42774 |
อีเมล์ | teepla@kku.ac.th |