หลักสูตรฝึกอบรม
ชื่อหลักสูตร-สาขา | หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ |
---|---|
ชื่อหลักสูตร-สาขา(English) | Residency Training Programme in Endodontics |
สถาบันฝึกอบรม | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
เริ่มเปิดหลักสูตร | 2565 |
จำนวนรับผู้เข้าฝึกอบรม | 2-4 |
ระยะเวลาการฝึกอบรม | 3 ปี |
แผนการฝึกอบรม | แบบที่ 1 งานวิจัยเพื่อรับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) แบบที่ 2 งานวิจัยแบบไม่รับรองวุฒิบัตรให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก (ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย) หมายเหตุ โปรดติดตามแผนการฝึกอบรมที่เปิดรับในแต่ละปีการศึกษาจากประกาศการรับสมัครฯ |
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม | 90,000 บาท ต่อภาคการศึกษา (ต้น/ปลาย) (มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการลงทะเบียนภาคฤดูร้อนสำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง) |
คุณสมบัติผู้สมัคร | 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 2. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่ได้ใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม 3. ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ |
ขอบเขต/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลิตทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการรักษาทางเอ็นโดดอนติกส์ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิผลอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยอันนำไปสู่การให้บริการและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาวิชาการในวิชาชีพสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์สู่ระดับสากล |
ลักษณะเด่นของหลักสูตร/คำอธิบายเพิ่มเติมอื่นๆ | 1. มีการฝึกปฏิบัติรักษาทางเอ็นโดดอนต์ในผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยอาศัยหลักวิชาการตามแนวคิด evidence based dentistry ด้วยชุดความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้สามารถพัฒนาสู่การเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ที่มีคุณภาพได้ 2. สถาบันฝึกอบรมมีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือครบถ้วน ทันสมัย รวมถึงอาจารย์ผู้ทรงคุณวิฒิที่พร้อมให้ความรู้และคำแนะนำตลอดหลักสูตร 3. สามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดของราชวิทยาลัยฯ ภายใต้การดูแลจากอาจารย์ที่ประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเป็นอย่างดี 4. การฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมการเรียนยึดหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ Quality of education ให้สมดุลกับ Quality of life เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับสภาวะแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง |
คณาจารย์ในการฝึกอบรม (บางส่วน) | ผศ.ทพ.ดร.ภูมิศักดิ์ เลาวกุล ผศ.ทพญ.ดร.ธนิดา ศรีสุวรรณ ผศ.ทพ.อาณัติ เดวี อ.ทพ.ดร.วรัตม์ ลีลาพรพิสิฐ อ.ทพ.ดร.กิตติพิชญ์ กลั่นเลี้ยง |
ผู้อำนวยการหลักสูตร | ผศ.ทพ.อาณัติ เดวี |
เบอร์โทรติดต่อ | 053944457 |
อีเมล์ | anat.dewi@cmu.ac.th |