ประวัติราชวิทยาลัย

โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) ทันตแพทย์ ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เดชะกัมพุช ประธานคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยวาระที่ 1 และ 2

ประเทศไทยได้เริ่มจัดการศึกษาทางทันตแพทย์โดยมีการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา โดยในระยะแรกยัง ไม่มีการศึกษาต่อหรือฝึกอบรมหลังปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตต่อมาเมื่ออาจารย์และทันตแพทย์ไทยจํานวนหนึ่งได้กลับจากการศึกษาต่อใน ต่างประเทศทั้งจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลียและเยอรมันนี เป็นต้น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ในขณะนั้น ต่อมา ได้เปลี่ยนสังกัดเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จึงได้ริเริ่มการเรียนการสอนหลังปริญญาในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และขยายในระดับปริญญา โท ปริญญาเอก ในระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งในปัจจุบันนี้ มีการดําเนินงานในคณะทันตแพทยศาสตร์ ทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร

ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรมและเป็นที่มาของทันตแพทยสภา ซึ่งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการทันตแพทยสภา ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผู้แทน จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหมกระทรวงมหาดไทย และกรรมการจากการเลือกตั้งของสมาชิคทันตแพทยสภาจํานวนหนึ่งทําหน้าที่ ในการกํากับดูแลให้ประชาชนคนไทยได้รับการตรวจรักษาทางทันตกรรม จากทันตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม รวมทั้งทันตแพทย์ ในระดับผู้ชํานาญเฉพาะทางสาขาต่างๆ ด้วย ดังนั้นคณะกรรมการทันตแพทยสภาในวาระที่ 1 ซึ่งมีศาสตราจารย์พิเศษ พลโทพิศาลเทพสิทธา เป็นนายกทันตแพทยสภาจึงได้ให้ความเห็นชอบข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยการออกหนังสือวุฒิบัตรและอนุมัติบัตร ผู้มีความรู้ความชํานาญการ ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2539 โดยกําหนดให้มี 10 สาขา ได้แก่ ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรม ประดิษฐ์ ทันตกรรมสําหรับเด็ก ปริทันตวิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมหัตถการ วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ทันตสาธารณสุข และทันตกรรมทั่วไป

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 คณะกรรมการทันตแพทยสภาวาระที่ 3 ซึ่งมีทันตแพทย์ปิยะพงศ์ วัฒนวีร์ เป็นนายกทันตแพทยสภาได้ให้ความเห็นชอบ ข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการศึกษา วิจัย และการประกอบวิชาชีพการทันตแพทย์ให้ได้ มาตรฐานทางวิชาการ โดยเฉพาะในส่วนของวุฒิบัตร/อนุมัติบัตรการเป็นผู้มีความรู้ความชํานาญการในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ภายใต้ คณะผู้บริหารวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ประธานรองประธาน ซึ่งได้จากการเลือกตั้งของสมาชิก ผู้ที่ประธานแต่งตั้งเป็น เลขาธิการนายทะเบียนและเหรัญญิก ผู้แทนจากสถาบันหลักที่ให้การฝึกอบรมวุฒิบัตรและผู้แทนจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ 10 สาขา ดังกล่าวข้างต้นทั้งนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยชุดแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์ ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช เป็นประธาน ทันตแพทย์ไทยได้ซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวข้องกับงาน ทันตกรรม ซึ่งพระองค์ท่านทรงให้ความสําคัญกับงานทันตกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยได้มีพระราชดํารัสกับทันตแพทย์ประจําพระองค์ ศาสตราจารย์ พันโทสี สิริสิงหว่า "การที่จะให้ราษฎรผู้ทุกข์ยาก ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกลความเจริญเมื่อมีปัญหาเรื่องฟันต้องทิ้งท้องไร่ท้องนา เดินทางเข้ามาในเมืองเมื่อมีปัญหาโรคฟันนั้นยากที่จะเป็นไปได้ทันตแพทย์น่าจะได้ออกไปดูแลราษฎรเหล่านั้นเป็นครั้งคราวเพราะโรคฟันเป็นโรคของทุกคน" ด้วยพระราชดํารัสในครั้งนั้นจึงทําให้เกิดทันตกรรมเพื่อชุมชนหรือรถทําฟันเคลื่อนที่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระองค์ได้พระราชทานนามโครงการนี้ว่า“ทันตกรรมพระราชทาน" โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นทั้งนี้มีคณาจารย์และศิษย์เก่า คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สมัครเป็นทันตแพทย์อาสาสมัครรุ่นแรก ออกให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนที่ยากจน ด้อยโอกาส และอยู่ห่างไกลความเจริญตลอดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบันต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหน่วย ทันตกรรมพระราชทานให้คณะทันตแพทย์ศาสตร์ทุกคณะเพื่อให้บริการราษฎรได้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศซึ่งนอกจากโครงการทันตกรรมเคลื่อนที่ที่คณะ ทันตแพทยศาสตร์ทุกคณะรับเป็นผู้ดําเนินการแล้ว ยังมีโครงการทันตกรรมอื่นๆ เช่น โครงการทันตกรรมตามเสด็จ โครงการทันตกรรมทางเรือ เวชพาห์ และโครงการทันตกรรมหน้าวัง เป็นต้น

สมาชิกของทันตแพทยสภาและสมาชิกของวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยจํานวนมากได้สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการส่งเสริมทันตสุขภาพของประชาชนด้วยการเป็นอาสาสมัครประจําหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอสว. ในการให้บริการทันตกรรม และการส่งเสริมทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส ในท้องถิ่นทุรกันดารตลอดมา นอกจากนี้เมื่อประเทศไทยประสบมหันตภัยคลื่นสึนามิ” ใน 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทันตแพทย์อาสาสมัครเป็นกําลังสําคัญร่วมกับอาจารย์อาสาสมัครและอาสาสมัครทั่วไปดําเนินการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยเฉพาะทางด้าน ทันตกรรมจนได้รับการยกย่องจากสังคมนับเป็นความภาคภูมิใจของวิชาชีพทันตแพทย์

ในปี พ.ศ. 2548 คณะผู้บริหารวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยได้มีมติให้ความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้วิทยาลัยทันตแพทย์แห่ง ประเทศไทยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสถาปนาเป็นราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย” ซึ่งสํานักงานราชเลขาธิการ ได้นําความกราบ บังคลทูล ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพร้อมกับให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อพิจารณาในหลายประเด็นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบ เมื่อ ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระมหามงกุฎ ประกอบอยู่เหนือเครื่องหมายของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่เหล่าสมาชิกและเป็นสิริมงคลยิ่ง แค่ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย

ในโอกาสเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพ.ศ. 2549 นี้ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยการเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมเยียนและหาทางขจัดปัดเป่าอุปสรรคปัญหา ของราษฎรด้วยความรอบรู้ทุกด้านทรงมีพระราชดําริอันกว้างไกลโดยเฉพาะปัญหาสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บรวมถึงทรงให้ความสําคัญกับงาน ทันตกรรม ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานต่อวิชาชีพทันตแพทย์ และประชาชนคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดําเนินการเสนอขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯถวาย สมาชิกกิตติมศักดิ์ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยเป็นพระองค์แรก ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อถวายความจงรักภักดี และเป็นเกียรติเป็นศรีแก่ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยและวงการทันตแพทย์ไทยสืบไป

คณะผู้บริหารราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยได้กําหนดการประกอบพิธีประกาศเกียรติคุณในการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกกิติมศักดิ์ ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นปฐมฤกษ์รวมทั้งการมอบครุยและเครื่องหมาย วิทยาฐานะแก่สมาชิกสามัญของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 กันยายน 2549 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแรงดลใจให้สมาชิกราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยได้ดําเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเสริมความเจริญ ก้าวหน้าทางวิชาชีพทันตแพทย์ไทยสืบไปการสร้างเกียรติภูมิของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ให้เกรียงไกรและการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ การสมานสามัคคีในเหล่าสมาชิกการบําเพ็ญประโยชน์แก่สังคมด้วยความรู้ความชํานาญทางด้านทันตกรรมเป็นพันธกิจของเหล่า สมาชิกต่อไปตราบนานเท่านาน

(คัดจากหนังสือการประชุมวิชาการ ประชุมสามัญประจําปี พิธีรับเข็มวิทยฐานะราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย 1 กันยายน 2549)